สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 3 ของจีน ปรากฏขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนในอดีตได้ดีที่สุด อันประกอบไปด้วย 3 สิ่งประดิษฐ์สำคัญที่ถือกำเนิดมาจากประเทศจีน ได้แก่ กระดาษ แท่นพิมพ์ และเข็มทิศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่โบราณกาล เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปอ่านกันเลย
#1 กระดาษ
วัฒนธรรมและงานของมนุษย์เจริญขึ้น มีผลมาจากการพิมพ์ก้าวหน้า การพิมพ์ต้องใช้กระดาษ ดังนั้นการผลิตและการใช้กระดาษจึงมีประโยชน์ต่อวัฒนธรรมมนุษย์มาก ชาวจีนจึงภูมิใจมากที่ตนเป็นผู้ค้นพบวิธีทำกระดาษ
แต่เดิมนั้น ชาวจีนเขียนหนังสือลงบนแผ่นไม้ไผ่ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น ผู้คนเริ่มพากันมีความเห็นว่าการเขียนบนแผ่นไม้นั้นไม่สะดวก ผู้คนจึงเปลี่ยนมาเขียนลงบนผ้าไหมแทน แต่ว่าผ้าไหมแพงมาก ต่อมาสมัยฮั่นตะวันออก ไช่หลุน ค้นพบวิธีนำเปลือกไม้มาทำกระดาษ จักรพรรดิฮั่นเหอตี้โปรดมาก ผู้คนทั่วโลกได้ใช้กระดาษของเขา เราจึงเรียกชื่อกระดาษนี้ว่า กระดาษไช่หลุน
กระดาษที่ทำจากพืชตะกูลป่าน มักใช้สำหรับห่อของไม่นิยมใช้เขียน ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณส่านซี เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ถูกขุดค้นพบจากสุสานจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ สมัยราชวงศ์ฮั่น (140 ปีก่อนคริสตกาล)
#2 แท่นพิมพ์
การพิมพ์ ด้านเทคนิคการพิมพ์ จีนได้รับยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้น แต่เดิมตำราของจีนต้องคัดลอกด้วยลายมือ ต่อมา มหาอุปราชเฝิงเต้าสั่งให้ราชวิทยาลัยกว่อจื่อเจี้ยนจัดพิมพ์คัมภีร์ 9 เล่ม นับเป็นการพิมพ์หนังสือจำนวนมากเป็นครั้งแรกของรัฐบาล
พอเริ่มมีการพิมพ์จากรัฐบาล ทางเอกชนและบรรดาร้านหนังสือต่างก็พิมพ์หนังสือของตนเองออกมาบ้าง ตำราต่างๆ จึงเผยแพร่ออกไปได้มากและกว้างขวางกว่าเดิม และเป็นการเรียงพิมพ์ ทำให้สามารถผลิตหนังสือได้เร็วและมากกว่าเดิมหลายเท่า
ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำตุ้นหวง ประเทศจีน
เครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ที่ปี้เซิงประดิษฐ์ขึ้น ใช้แผ่นดินเหนียวเผาแกะเป็นตัวพิมพ์ ต่างจากปัจจุบันตรงที่ปัจจุบันเป็นตะกั่วเท่านั้น เครื่องพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบิร์ก ที่ประดิษฐ์ได้เมื่อปี ค.ศ. 1450 นั้น ช้ากว่าของจีนถึง 400 ปีเศษทีเดียว การพิมพ์ ศตวรรษที่ 7 มีการพบข้อความเกี่ยวกับศาสนาพุทธบนแท่นพิมพ์ไม้ ประมาณศตวรรษที่ 10 มีการพิมพ์หนังสือประเภทวรรณคดี สมัยซ้องนี้มีการเรียงพิมพ์ตัวอักษรอยู่ทั่วไป และยังมีการเข้าเล่มหนังสืออีกด้วย
#3 เข็มทิศ
การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของจีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือภูเขา
ภาพวาดเข็มทิศที่ใช้บนเรือสมัยราชวงศ์หมิง
จากหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษที่ 12 นั่นคือในขณะนั้น จูยี่ เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง ได้เขียนบันทึกชื่อ ผิงโจวเข่อถาน บันทึกไว้ว่า ในคืนแรม ทหารเรือได้ใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมจำแนกทิศทาง
ต่อมา เจิ้งเหอ ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1405 เดินทางไปถึงอาหรับและแอฟริกาตะวันออก ไปกลับเจ็ดครั้ง รวมเวลาได้ 28 ปี เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีเข็มทิศแล้ว การเดินทางในมหาสมุทรระยะไกลเช่นนี้ย่อมไม่สำเร็จแน่ ชาวอิตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีนจึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหากอ้างอิงถึง ทรรศะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง
เข็มทิศเป็นอุปกรณ์จำเป็นจนถึงทุกวันนี้