ปี 1994 ครั้งแรกที่มนุษยชาติ “ได้เห็น” ถึงความรุนแรงของ “ดาวหางถล่มดาวเคราะห์”

พวกเราคงเคยดูหนังเกี่ยวกับดาวหางถล่มโลกกันมาบ้างแล้ว แต่พวกเราเคยรู้ไหมว่าความจริงในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์ “ดาวหางถล่มดาวเคราะห์” แบบสดๆ ให้ NASA ได้ดูด้วย เคราะห์ดีที่เหตุการณ์ที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่โลกของเรา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปอ่านกันเลย

ย้อนกลับไปในปี 1994

มนุษยชาติได้สัมผัสกับประสบการณ์วัตถุขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนดาวเคราะห์เป็นครั้งแรก เมื่อนักดาราศาสตร์ได้รายงานไปที่นาซาว่าตรวจพบดาวหางที่ภายหลังถูกตั้งชื่อว่า “ชูเมกเกอร์-เลวี 9” (Shoemaker Levy 9) ตามนามสกุลของนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบ โดยดาวหางที่ค้นพบนี้จะพุ่งเข้าปะทะกับดาวพฤหัสบดี

ลักษณ์ของดาวหาง

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 มีลักษณะเป็นกลุ่มอุกกาบาตจำนวน 21 ชิ้น ก้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2 กม. พวกมันเคลื่อนที่ตามกันเป็นแถวเหมือนกับขบวนรถไฟ

วันที่ 16 กรกฎาคม 1994

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ก็พุ่งเข้าปะทะกับพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี สิ่งที่ตามมาจากการชนก็คือแรงระเบิดมหาศาลที่มีความรุนแรงพอๆ กับระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมา 100,000,000 ลูก (1 ร้อยล้านลูก) แรงระเบิดกระจายรัศมีไปกว่า 8,000 กม.

ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นจากการระเบิดลอยตัวปกคลุมชั้นบรรยากาศ การระเบิดในครั้งนี้ทิ้งร่องรอยขนาดใหญ่ไว้บนผิวของดาวพฤหัสบดี มันสร้างหลุมที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถยัดโลกทั้งใบเข้าไปได้สบาย

หลังจากเหตุการณ์ “ดาวหางถล่มดาวเคราะห์” ในวันนั้น

มนุษยชาติจึงมีการตื่นตัวในเรื่องวัตถุอวกาศที่จะพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งนักดาราศาสตร์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องต่างได้เห็นกับตาว่ามันรุนแรงแค่ไหน แม้ว่าจะมีการคำนวณว่าโอกาสที่โลกจะถูกอุกกาบาตขนาดยักษ์ถล่มใส่จะมีเพียงแค่ทุกๆ 30 ล้านปีเท่านั้น แต่มนุษยชาติก็ไม่ควรประมาทเช่นกัน

สุดท้ายนี้เราก็ได้แต่หวังว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นที่โลก

เครดิต ebaumsworld.com