5 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่คุณอาจจะเข้าใจผิดมาโดยตลอด

เรื่องราวบนโลกนั้นมีมากมายหลายๆ เรื่องได้รับการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์แล้ว ซึ่งบางครั้งหลักฐานที่พิสูจน์ได้ก็อาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจดั่งเดิมของพวกเราเท่าไหร่นัก และสำหรับวันนี้เรามีเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาให้ได้อ่านกัน และนี่คือ 5 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่คุณอาจจะเข้าใจผิดมาโดยตลอด จะมีเรื่องอะไรบ้างไปอ่านกันเลย

#1 เราจะบินผ่านแถบดาวเคราะห์น้อยได้อย่างไรโดยไม่ให้ชน?

คำตอบ โอกาสชนน้อยมาก

ไม่ว่าเราจะเคยเห็นแถบดาวเคราะห์น้อยมีหน้าตาเป็นอย่างไรในภาพยนตร์ผจญภัยท่องอวกาศ โดยทั่วไปแล้วแถบดาวเคราะห์น้อยคือบริเวณที่ค่อนข้างเวิ้งว้าง ถึงแม้จะดูหน่าแน่นกว่าบริเวณอื่นๆ ในอวกาศ แต่ก็ยังถือว่าเวิ้งว้างอยู่ดี เพราะระยะห่างแต่ละดวงคือ 2 ล้านกิโลเมตร

#2 บนดาวอังคารมีสีอะไร?

คำตอบ พื้นผิวสีน้ำตาลอ่อน และท้องฟ้าเป็นสีฟ้า

ภาพแรกๆ ของดาวอังคารถูกส่งกลับมาจากยานไวกิ้ง 1 นั้นแสดงให้เห็นถึงพื้นดินอันเวิ้งว้างสีแดงที่มีหินสีเข้มกระจัดกระจายอยู่ ซึ่งก็ตรงตามที่เราคิดกัน แต่นั่นเพราะองค์การนาซาจงใจตกแต่งรูปภาพให้ดูคุ้นเคยมากกว่า

เพราะกล้องที่ติดไปกับยานสำรวจพื้นผิวสองลำของยานไวกิ้งที่ไปถึงดาวอังคารในปี 1976 นั้น ไม่ใช่กล้องถ่ายภาพสี รูปดิจิตอลที่ถ่ายมาได้นั้นเป็นภาพขาวดำ แล้วค่อยผ่านตัวกรองสามสีอีกที

ภาพนี้คือภาพดาวอังคารในปี 1976

การปรับตัวกรองเพื่อให้ได้ภาพสีที่แท้จริงนั้นต้องอาศัยลูกเล่นอย่างมาก และเป็นงานศิลปะพอๆ กับงานวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่เคยมีใครไปดาวอังคารมาก่อน เราจึงไม่รู้ว่าสีที่แท้จริงของมันคืออะไร

ในปี 2004 ในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์ ระบุว่าภาพสีในยุดแรกจากดาวอังคารนั้นถูกใส่สีชมพูมากเกินไปหน่อย การปรับแต่งภาพในเวลาต่อมาแสดงให้เห็นว่า พื้นผิวของดาวอังคารค่อนข้างออกไปทางสีน้ำตาลอ่อนมากกว่า และท้องฟ้าเป็นสีฟ้าอีกด้วย ภาพนี้คือภาพดาวอังคารล่าสุด

เปรียบเทียบกันชัดๆ

#3 ญี่ปุ่นอยู่ห่างจากอเมริกากี่กิโลเมตร?

คำตอบ 160 กิโลเมตรเท่านั้น (ประมาณกรุงเทพ-พัทยา)

ดินแดนของญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้กับอเมริกามากที่สุดคือเกาะโอกิโนะโทริ ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะปาฮารอส เกาะที่ตั้งอยู่เหนือสุดในหมู่เกาะมาเรียน่าเหนือ ซึ่งเป็นอาณานิคมหนึ่งของอเมริกาเพียงแค่ 160 กิโลเมตรเท่านั้น (ประมาณกรุงเทพ-พัทยา)

นี่คือสภาพเกาะโอกิโนะโทริ

#4 ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายสิ้นสุดลงเมื่อไหร่?

คำตอบ เรายังอยู่ในยุคน้ำแข็งกันอยู่เลย

นักภูมิศาสตร์ให้คำจำกัดความของยุคน้ำแข็งว่า เป็นยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกที่น้ำแข็งปกคลุม สภาพอากาศในปัจจุบันคือช่วงอบอุ่นในระหว่างยุคน้ำแข็ง (Interglacial Period) ซึ่งไม่ได้หมายถึงช่วงเวลาที่ อยู่ระหว่างยุคน้ำแข็งสองยุค แต่หมายถึงช่วงเวลาในยุคน้ำแข็งที่น้ำแข็งละลายเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นเมื่อราวหนึ่งหมื่นกว่าปีก่อนนี้เอง

คำจำกัดความของคำว่ายุคน้ำแข็งคือ ยุคที่อุณหภูมิของพื้นผิวโลกและบรรยากาศลดลงเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดและขยายตัวของแผ่นน้ำแข็ง (ice sheet) และธารน้ำแข็ง (glacier) บริเวณซีกโลกเหนือและใต้ ซึ่งในยุคน้ำแข็งอันยาวนานนี้ จะมีช่วงที่สลับกันระหว่างช่วงหนาวเย็น (glacial periods) กับช่วงอบอุ่น (interglacial periods)

และเนื่องจากปัจจุบันยังมีแผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็งแผ่ปกคลุมอยู่ที่บริเวณขั้วโลกอยู่นี่เอง จึงถือว่าปัจจุบันยังอยู่ในยุคน้ำแข็งอยู่ (แม้ว่าประเทศไทยจะร้อนตับแตก แต่ที่กรีนแลนด์กับแอนตาร์กติกยังมีแผ่นน้ำแข็งดังกล่าวปกคลุมอยู่มากว่าสองล้านปี ดังนั้นตอนนี้ยังถือว่าเป็นยุคน้ำแข็งอยู่นั่นเอง)

รูปข้างล่างคือ รูปจำลองช่วงที่หนาวเย็นที่สุดในยุคไพลสโตซีน จะเห็นว่าน้ำแข็งจะแผ่ปกคลุมบริเวณขั้วโลกเท่านั้น

รูปวาดแม่น้ำเทมส์กลายเป็นน้ำแข็งในปี ค.ศ. 1677 ทำให้รู้ว่าได้เกิดยุคน้ำแข็งน้อยขึ้นจริงที่ยุโรปในตอนนั้น

#5 สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของมนุษย์ที่ทำความเร็วได้เหนือเสียงคืออะไร?

คำตอบ แส้

แส้ถูกผลิตขึ้นมาในประเทศจีนเมื่อ 7,000 ปีที่แล้ว แต่ก็ต้องรอจนกว่าจะมีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงในปี 1927 ถึงจะรู้กันว่าเสียงดังเปรี๊ยะ ที่เกิดจากการสะบัดแส้เป็นเสียงที่เกิดจากการทำความเร็วเหนือเสียง หรือที่เรียกกันว่า Sonic Boom ไม่ใช่แค่เสียงเส้นหนังไปกระทบด้ามจับ

เมื่อสะบัดแส้ แส้จะม้วนตัวเป็นเส้นโค้ง และเนื่องจากปลายแส้มีขนาดเรียวลง ความเร็วของปลายแส้จึงมากกว่าตอนเริ่มสะบัดถึง 10 เท่า เสียงดังเปรี๊ยะที่เกิดขึ้นเมื่อปลายแส้ทำความเร็วทะลุกำแพงกั้นเสียงได้ที่ 1,194 กิโลเมตรต่อชั่วโมง