14 สุดยอดภาพถ่ายของ “เจมส์เว็บบ์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทรงพลังที่สุด

ในปี 2021 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST) ถูกส่งไปสู่ห้วงอวกาศ สิ่งที่กล้องตัวนี้สามารถบันทึกไว้ได้ และถ่ายทอดออกมาสู่สายตาชาวโลกก็ได้เปลี่ยนมุมมองของมนุษยชาติต่อจุดกำเนิดของจักรวาลอย่างสิ้นเชิง และนี่คือ 14 สุดยอดภาพถ่ายของ “เจมส์เว็บบ์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทรงพลังที่สุด

#1 ซากที่หลงเหลืออยู่ของซูเปอร์โนวา “แคสสิโอเปีย เอ” (Cas A) แผ่รังสีคอสมิกที่มีความเร็วสูงสุดในจักรวาล ประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีพลังงานสูงกว่าแสงหลายพันล้านเท่า วงแหวนหลักมีความกว้างราว 15 ล้านปีแสง

#2 ดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มองผ่านแสงอินฟราเรด โดยส่วนที่สว่างที่สุดตรงกลางก็คือกลุ่มเมฆหนาที่เกิดจากการนำพาความร้อน

#3 กาแล็กซี M51 หรือที่เรียกกันว่า “ดาราจักรน้ำวน” (Whirlpool Galaxy) และนี่คือภาพที่ละเอียดที่สุด

#4 กลุ่มเมฆโมเลกุลคาเมลีออน 1 อยู่ห่างจากโลก 630 ปีแสง โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์จับภาพกลุ่มเมฆที่เต็มไปด้วยเกล็ดน้ำแข็งที่อุณหภูมิติดลบ 260 องศาเซลเซียส ถือเป็นภาพที่มีรายละเอียดอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน

#5 กล้องเจมส์เว็บบ์ได้ส่องเข้าไปยังศูนย์กลางกาแล็กซี ซากิตทาเรียส ซี ใกล้กับหลุมดำมวลยิ่งยวด โดยประเมินว่าภาพนี้มีดาวอยู่ 500,000 ดวง และมีเส้นผ่าศูนย์กลางจากซ้ายไปขวาของภาพ ห่างกัน 50 ปีแสง ส่วนของสีเขียวแกมน้ำเงินนั้น คือ แก๊สไฮโดรเจน

#6 NGC 3256 นี่คือภาพที่เกิดจากกาแล็กซี 2 แห่งชนกัน ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อกว่า 500 ล้านปีก่อน การปะทะกันของกาแล็กซีก่อให้เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่ส่องแสงให้ความสว่างแก่กลุ่มแก๊สและฝุ่นรอบๆ

#7 เนบิวลาปู ซากซุเปอร์โนวาที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้รับการบันทึกโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนเมื่อปี 1054 อยู่ห่างจากโลก 6,500 ปีแสงในกลุ่มดาววัว

#8 ดาวเสาร์ ดาววงแหวนแห่งระบบสุริยะ โดยในภาพจะเห็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์อยู่ด้านซ้าย

#9 HH212 ดาวฤกษ์เกิดใหม่อายุไม่ถึง 50,000 ปี ในภาพคือดาวฤกษ์ได้ปล่อยพวยคลื่นออกมาทำให้โมเลกุลไฮโดรเจนกลายเป็นสีชมพูด โดยโครงสร้างทั้งหมดมีเส้นผ่าศูนย์กลางห่างจากกัน 1.6 ปีแสง

#10 การสำรวจจักรวาลลึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ หรือเรียกอีกชื่อว่า จาเดส ได้ยืนยันการค้นพบกาแล็กซีช่วงแรกเริ่มสุด เรียกว่า JADES-GS-z1-0 ซึ่งประเมินว่าเกิดขึ้น 325 ล้านปีหลังจากการเกิดบิ๊กแบง

#11 กระจุกดาว IC 348 Wispy คือ เส้นใยของแก๊สและฝุ่นที่อยู่ระหว่างดาวฤกษ์ที่สุกสกาว กล้องเจมส์เว็บบ์พบดาวแคระสีน้ำตาลมวลต่ำ หรือ “ดาวฤกษ์ที่ล้มเหลว” ในภาพนี้ ดาวฤกษ์ก็ยังคงมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 3-4 เท่าตัว

#12 เอเรนเดล เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลที่สุดเท่าที่ตรวจพบ โดยกล้องเจมส์เว็บบ์ยืนยันการดำรงอยู่ของมัน ซึ่งแสงต้องใช้เวลา 12,900 ล้านปีกว่าจะมาถึงโลกมนุษย์

#13 เนบิวลานายพราน เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่มีชื่อเสียง และสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนรอยป้ายสีบนท้องฟ้า ยานอวกาศต้องเดินทางด้วยความเร็วแสงเป็นเวลา 4 ปี หากต้องการบันทึกภาพให้ได้ภาพเหมือนที่กล้องเจมส์เว็บบ์

#14 โร โอฟิวคี เป็นกลุ่มก๊าซกำเนิดดาวฤกษ์ ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ห่างออกไป 400 ปีแสง และมีอายุเพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น

เครดิต BBC, NASA