พาไปรู้จัก “พลาตีบีโลดอน” ช้างดึกดำบรรพ์ ที่เคยอยู่บนโลกเมื่อ 20 ล้านปีก่อน

นี่คือช้างดึกดำบรรพ์ที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ในแอฟริกาและยูเรเชียช่วงต้นๆ ของยุคไมโอซีน (Miocene) เมื่อราวๆ 20 ล้านปีก่อน

ช่วงเวลาของสมัยไมโอซีน (Miocene) ในยุคนั้น มีสัตว์หน้าตาแปลกๆ เดินกันให้ควักมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “พลาตีบีโลดอน” (Platybelodon) สิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับช้างในยุคปัจจุบัน อาศัยอยู่ในพื้นทวีปแอฟริกาและยูเรเซีย

พวกมันมีลักษณะเด่นสำคัญอยู่ที่บริเวณปากที่ดูน่ากลัวไม่ใช่เล่น แต่เราก็ต้องคิดอีกนัยหนึ่งว่า โชคดีจริงๆ ที่ดูเหมือนพวกมันจะกินพืชเป็นอาหาร

พลาตีบีโลดอนนั้น มีชื่อเรียกที่เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “ช้างงาหอกแบน” จากการที่งาล่างของมันมีลักษณะพิเศษที่แบนและยื่นไปด้านหน้าคล้ายๆ กับพลั่ว โดยความยาวของงวงและงาล่างนี้อยู่ที่ประมาณ 2-3 ฟุตนักวิทยาศาสตร์ค้นพบพวกมันครั้งแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และถูกตั้งชื่อในปี 1928

ตัวของพลาตีบีโลดอนมีความยาวกว่า 3 เมตร สูงกว่า 2.7 เมตร และหนักราว 2 ตัน ซึ่งขนาดตัวค่อนข้างสอดคล้องกับช้างเอเชีย

แต่แม้เจ้าพลาตีบีโลดอนจะคล้ายกับช้างปกติก็ตาม พวกมันกลับมี “กระดูกงา” ด้านล่างงาปกติอีก 1 คู่ ซึ่งมีลักษณะแบนและยื่นไปด้านหน้า ทำให้มันกลายเป็นช้างที่หน้าตาประหลาดแบบสุดๆ ไปเลย

หลายคนคงสงสัยว่า แล้วงวงและงานี้มันทำงานอย่างไร?

งาของเจ้าพลาตีบีโลดอน เชื่อกันว่าอาจสามารถใช้ได้หลากหลาย โดยผู้ชำนาญการด้านพืชและสัตว์ดึกดำบรรพคิดทฤษฎีหนึ่งไว้ว่า งาด้านล่างของมันจะทำหน้าที่คล้ายพลั่วขุดพืชขึ้นมากิน

ก่อนที่ต่อมาในปัจจุบันผู้ชำนาญการด้านพืชและสัตว์จะพบว่า จากลักษณะของงวงและงาล่างที่หนาและแข็งแรง มันน่าจะมีไว้เพื่อตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และแซะเปลือกไม้ออกมากินต่างหาก

เช่นเดียวกับสัตว์หลายๆ ชนิดในอดีต แม้แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและองค์ความรู้ก้าวหน้าไปมาก เราก็ยังไม่มีหลักฐานมากนักว่าพลาตีบีโลดอนนั้นสูญพันธุ์ไปจากโลกได้อย่างไร

แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า พวกมันได้สูญพันธุ์ลงเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในช่วงปลายยุค ซึ่งอาจทำให้เกิดภัยแล้งจนเป็นเหตุให้แหล่งอาหารลดลง เมื่ออาหารลดลงพวกมันจึงมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนสูญพันธุ์เช่นเดียวกับช้างสายพันธุ์อื่นที่สูญพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

เครดิต wired.com