พาชม “ปลาหัวใส” ปลาสุดแปลกจากใต้ทะเลลึก (มีคลิป)

“ปลาหัวใส” (Barreleye fish) เป็นปลาน้ำลึก ที่อาศัยอยู่ที่ความลึกประมาณ 400 – 2,500 เมตร บริเวณเขตน่านน้ำมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร

ความโดดเด่นของ “ปลาหัวใส” ก็คือที่ส่วนของหัวจะมี “ความใส” จนเราสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน (ดูคล้ายกับห้องนักบิน)

บริเวณด้านหน้าจะมีจุด 2 จุดก็คือจมูก ไม่ใช่ดวงตาอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ

ส่วนดวงตาจะอยู่ในหัว สังเกตดีๆ จะเห็นเลนส์สีเขียวขนาดใหญ่ 1 คู่ทำหน้าที่รับแสง ซึ่งสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และทำหน้าที่กำหนดระยะห่างของตัวมันเองกับเหยื่อ ส่วนเป็นโดมใสที่ปกคลุมหัวจะมีของเหลวอยู่ภายใน ช่วยทำหน้าที่ปกป้องดวงตาอีกชั้นหนึ่ง

“ปลาหัวใส” ถูกค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1939 แต่ตัวอย่างอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนักเพราะครั้งนั้นติดมาจากการลากอวน

ต่อมาในปี 2009 จึงได้มีการบันทึกภาพใต้น้ำไว้ได้ โดยนักวิจัยจาก Monterey Bay Aquarium Research Institute (MBARI)

เครดิต MBARI