20 ไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นยุค 90 ที่วันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

สำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาในยุคที่ทุกๆ อย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าอยากจะหาข้อมูลอะไรก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการถาม อาจารย์กู (Google) แถมยังมีอุปกรณ์พิเศษอย่างสมาร์ทโฟนซึ่งมันเป็นอุปกรณ์ที่มีทุกๆ อย่าง อยู่ในตัวมันเอง ทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ต ฯลฯ สำหรับบทความนี้เราจะพาย้อนเวลากลับไปดูไลฟ์สไตล์วัยรุ่นจากยุค 90 ที่วันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

#1 หากอยากจะจีบสาวสักคน จะไม่ใช่การเดินไปขอ Facebook หรือ Line แบบตอนนี้ แต่จะเป็นการขอเบอร์โทรศัพท์บ้าน

#2 เนื่องจากไม่มีมือถือไว้บันทึกเหมือนสมัยนี้ เราก็ต้องเตรียมกระดาษพร้อมปากกาเข้าไปจด

#3 หากไม่กล้าเดินตรงหน้าด้านเข้าไปขอเบอร์โทรศัพท์บ้าน สิ่งที่พวกเราจะทำคือเขียนจดหมายแล้วฝากคนไปส่ง การบอกรักผ่านจดหมายวัยรุ่นสมัยนี้ทำกันไหมล่ะ?

#4 แน่นอนเมื่อเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน ตอนเราโทรไปหาคนที่เราจะจีบ ก็ต้องไปลุ้นว่าจะเจอเจ้าตัวหรือจะเจอ “คุณพ่อ” ของเธอหรือไม่ และบางครั้งมันก็เลี่ยงไม่ได้ ฮาโหล ฮาโหล โทรมาทำไมไม่พูดล่ะครับ!

#5 โทรศัพท์บ้านมักจะมีแค่เครื่องเดียว หากคนในบ้านใช้อยู่เราก็ต้องเดินออกมาใช้โทรศัพท์สาธารณะพกเหรียญไปให้เต็มกระเป๋าเลย

#6 เมื่อโทรศัพท์สาธารณะรุ่งเรืองมากๆ ก็มีการอำนวยความสะดวกด้วยการใช้บัตรเสียบแทนการหยอดเหรียญ

#7 ในยุคนึงสมัยนึงเชื่อหรือไม่โทรศัพท์สาธารณะเราต้องเข้าคิวกันยาวเลยเชียว คนต่อคิวก็ต้องคอยจ้องเข้าไปขู่คนที่ใช้อยู่ เป็นนัยๆ ว่า “รอนานแล้ววางสายได้แล้ว”

#8 สำหรับการหาเบอร์โทรศัพท์ร้านค้า โรงพยาบาล หรือสถานที่ต่างๆ เราต้องใช้สมุดหน้าเหลืองหน้าตาแบบนี้แหละเคยเห็นกันไหม

#9 เพื่อนในห้องเรียนอาจจะมีถึง 50 คน จำเบอร์กันไม่ไหว ก็ต้องจดใส่สมุดบันทึกเบอร์โทรศัพท์จิ๋วแบบนี้

#10 การนัดกับเพื่อนในวันหยุดหากเป็นสมัยนี้แค่บอกเวลาและห้างที่จะไปเจอกัน พอถึงเวลาก็โทรหากันผ่านมือถือถามเอาได้เลยว่าอยู่ตรงไหน หรือจะ Line บอกก็ได้ แต่ลองคิดดูสมัยยุค 90 พวกเราไม่มีมือถือใช้กัน การจะนัดเพื่อนในวันหยุดเราต้องนัดเวลา สถานที่ๆ จะเจอแบบเฉพาะเจาะจงเลย เช่น เจอกันหน้า KFC แล้วหากใครไปก่อนก็ต้องไปนั่งรอสถานเดียว แล้วไปลุ่นกันว่าเพื่อนเราจะมาหรือไม่ ถ้ามันลืมนัดไปแล้วก็นั่งรอไปยาวๆ 555

#11 สมัยก่อนการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำรายงานเราต้องไปที่หอสมุดแห่งชาติแต่สมัยนี้สามารถทำรายงานที่บ้านได้เลยอินเตอร์เน็ตช่วยได้มาก

#12 เพจเจอร์ คืออุปกรณ์ที่นักธุรกิจสมัยนั้น ใช้ช่วยเหลือในการตามตัวเพื่อติดต่อสื่อสาร โดยผู้ใช้เพจเจอร์จะได้รับข้อความสั้นๆ ส่วนใหญ่จะบอกให้โทรกลับที่หมายเลขใด

#13 หากคุณจะติดต่อกับคนที่มีเพจเจอร์คุณต้องโทรเข้าไปหา “โอเปอเรเตอร์” เพื่อบอกข้อความที่ต้องการส่งไปหาคนที่พกเพจเจอร์ เช่น ติดต่อกับเบอร์ xxxxxx, รีบกลับบ้านด่วน ฯลฯ เชื่อหรือไม่ว่าตามสถิติสมัยนั้น ข้อความที่นิยมมากที่สุดคือแนวบอกรัก (บอกรักกันผ่านคนกลางฟินมาก บอกไปเขินไป 555)

สวัสดีครับ ขอส่งข้อความ “พี่คิดถึงน้องลูกหมูมากๆ เลยจ่ะ พี่ไม่เจอน้องหมูมา 3 วันแล้ว ใจพี่แทบจะขาด อกพี่แทบจะระเบิด รักนะ จุ๊บๆ” แค่นี้ล่ะครับ

เรียบร้อยค่ะ น่ารักจุงเขินแทนเลยค่ะ

#14 สมัยก่อนไม่มีทั้งอินเตอร์เน็ตและ Facebook หากจะรวมกลุ่มคุยกันจะต้องนัดเจอกันเท่านั้น

#15 ในช่วงปลายยุค 90 เริ่มจะมีการขายบัตรอินเตอร์เน็ตรายชั่วโมงเข้ามา คุณต้องขูดรหัสและนำมากรอกในระบบเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

#16 ความเร็วก็เร็วมากๆ 56kbps ต่อก็ไม่ค่อยติด แถมยังหลุดบ่อยอีกด้วย ใช้ไปลุ้นไปเพราะการต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งเราเสียค่าโทรศัพท์ด้วยครั้งละ 3 บาท วันนึงต่อ 20 ทีก็โดนไป 60 บาท สิ้นเดือนบิลเก็บเงินมาโดนแม่บ่นไฟแล็บ ตอนต่อก็ต้องลุ้นว่าจะติดหรือไม่ติด (มันมากสมัยนั้น)

#17 การฟังเพลงในสมัยนั้น เราจะต้องหาซื้อเทปมาเปิดฟังกันนะ เทปเพลงตลับนึงก็ราคาราวๆ 60-90 บาท มีให้ฟัง 10 เพลง เดี๋ยวนี้โหลดฟรีฟังฟรีกันหมดแล้ว หน้าตาเทปเพลงเป็นแบบนี้แหละเคยเห็นไหมล่ะเด็กรุ่นใหม่

เครื่องเล่นเทปเพลงสมัยก่อน

#18 แล้วการดูหนังล่ะ มันก็คล้ายๆ กับการฟังเพลง ในสมัยนั้นไม่มีการดูหนังผ่านอินเตอร์เน็ตเหมือนสมัยนี้หรอกนะ หากชื่นชอบหนังเรื่องไหนเราจะต้องไปหาซื้ออีกนั่นแหละเขาเรียกว่าเทปหนังหรือวีดีโอเทป ม้วนนึกก็หลายร้อยบาทเลยทีเดียว หน้าตาของวีดีโอเทปเคยเห็นป่าว

ต้องใช้เครื่องเล่นหน้าตาแบบนี้

#19 ในช่วงยุค 90 ร้านเช่าหนังสือการ์ตูนเฟื่องฟูมากๆ เด็กๆ ทุกคนที่ไม่รวยพอจะซื้อการ์ตูนทุกเล่มก็ต้องใช้บริการร้านเช่าการ์ตูนนี่แหละ ทำให้เราไม่พลาดทุกเรื่องได้ในราคาย่อมเยา ในปัจจุบันร้านเช้าหนังสือการ์ตูนแบบนี้เริ่มล้มหายตายจากไปหมดแล้วจากการเข้ามาของเทคโนโลยี่ใหม่ๆ อย่างอินเตอร์เน็ต อัตราค่าเช่าต่อเล่มก็ราวๆ 2-5 บาท (ต่อวัน) แล้วแต่ราคาต้นทุนของหนังสือ

#20 กล้องถ่ายภาพทุกตัวในสมัยยุค 90 ไม่ได้เก็บภาพในรูปแบบไฟล์ลงในหน่วยความจำของเครื่องแบบในสมัยนี้หรอกนะ กล้องถ่ายภาพทุกตัวใช้ฟิล์มในการถ่าย ฟิล์ม 1 ม้วน ถ่ายภาพได้ราวๆ 30-40 ภาพ และที่สำคัญคือถ่ายแล้วถ่ายเลย กดลบเพื่อแก้ไขไม่ได้ด้วย ตัวอย่างกล้องถ่ายภาพด้วยฟิล์ม

ม้วนฟิล์มหน้าตาเป็นแบบนี้